Hotline::062-264-6563

ปวดหลัง ฝังเข็มรักษาอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ

อาการ ปวดหลัง ปวดไหล่ รวมถึง ปวดคอ หากทิ้งไว้นานๆกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวจะเกิดการรัดตัวมากขึ้น ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่ดี เกิดลิ่มเลือดขึ้นได้ และในกรณีที่คนไข้ รักษาไม่ถูกวิธี หรือกดนวดอย่างรุนแรงจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวอักเสบ ซึ่งเมื่อกดหรือนวดบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดผังผืดภายในได้ (สังเกตุว่า คนที่ชอบนวด จะต้องให้หมอนวดกดแรงขึ้นๆ ซึ่งต่างจากการฝังเข็ม และการครอบแก้ว จะเป็นการดึงเส้นกลับขึ้นมา)

อาการปวดก็จะเป็นมากขึ้นไปอีก โดยจะมีอาการมือชา เท้าชา ร่วมด้วย สุดท้ายอาจเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้

 

เป็นวิธีการรักษาด้วยการฝังเข็ม ครอบแก้ว ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ร่วมกับ การทำกายภาพบำบัด รวมถึงโภชนาการที่เหมาะกับแต่ละบุคคลตามธาตุ เพื่อช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี กระตุ้นการทำงานของระบบปลายประสาท ทำให้กระบวนการการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆเข้าสู่สภาวะปกติ และยังช่วยสลายกรดยูริก อันเป็นสาเหตุหลักของอาการปวดหลัง ปวดไหล่ อย่างไรก็ตามระยะเวลาและผลของการรักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล คนไข้ควรเข้ามาตรวจและปรึกษากับคุณหมอด้วยตนเอง

ฝังเข็ม ปวดหลัง

การฝังเข็ม ครอบแก้ว กับวงการการกีฬา

ปัจจุบัน จะพบว่านักกีฬาชั้นนำของโลก ยอมรับแนวทางการรักษาด้วยการฝังเข็มกันอย่างแพร่หลาย นั่นเป็นเพราะการฝังเข็ม ครอบแก้ว ช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และฟื้นฟูอาการต่างๆของร่างกายได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

นักกีฬา ครอบแก้ว ปวดหลัง
นักกีฬา ครอบแก้ว ปวดหลัง

 

อาการ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดไหล่ ปวดคอ

ผู้ป่วยจะรู้สึกมีอาการเมื่อยล้า ปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณช่วงเอว หรือมีอาการปวดร้าวลงมาที่สะโพก บางครั้งปวดร้าวลงมาตามตำแหน่งที่เส้นประสาทเลี้ยงผ่านลงไป จนถึงเท้า อาจพบว่ามีอาการชาร่วมด้วย บางรายจะมีอาการปวดตึงมาทางหน้าท้อง อาจมีอาการปวดตลอดเวลา, ปวดเหมือนมีเข็มทิ่ม, ปวดหน่วงๆหนักๆ, อาจมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งเฉียบพลัน หรือค่อยๆเป็น ปวดๆหายๆ หรือปวดเรื้อรัง ก็ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยแต่ละท่านจะมีลักษณะของอาการที่แตกต่างกันออกไปโดยอาการปวดจะแสดงในลักษณะต่างๆ เช่น บางรายอาจปวดเฉพาะบริเวณหลังหรือกระเบนเหน็บ, บางรายอาจปวดหลังและร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างและมีอาการชาร่วมด้วยจนเดินไม่ได้ บางรายอาจมีอาการปวดเอว แล้วก็มีอาการตึงมาทางหน้าท้อง

สาเหตุ

  • อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อสามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย และส่วนมากจะพบได้ในวัยทำงาน เป็นได้ทั้งกล้ามเนื้อเกร็งตัวโดยฉับพลัน เช่น การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ, การบิดหมุนตัวผิดท่า เป็นต้น หรือ เป็นอาการปวดแบบเรื้อรัง เช่น การใช้กล้ามเนื้อทำงานหนักจนเกินไป เนื่องมาจากการทำงานที่เคร่งเครียด, ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบท, การยกของหนัก, การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน เป็นต้น
  • อาการปวดที่เกิดจากกระดูกสันหลังผิดปกติ
  • อุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เช่น การกระแทกแรงๆ อย่างต่อเนื่อง, หกล้ม, รถชน
  • ความผิดปกติของกระดูกสันหลังแต่กำเนิด เช่น โพรงกระดูกสันหลังตีบแต่กำเนิด, กระดูกสันหลังคด เป็นต้น
  • ความผิดปกติของกระดูกสันหลังเช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท, กระดูกสันหลังคด, กระดูกสันหลังเคลื่อน
  • ความผิดปกติที่เกิดจากอิริยาบทหรือการกระทำที่ซ้ำๆ
  • อาการปวดที่เกิดจากการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ปวดบริเวณหลังส่วนล่าง
  • การปวดหลังร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ปวดเอวแล้วมีอาการไข้หนาวสั่น, ปัสสาวะปนเลือด, ความดันสูง, ภาวะโลหิตจาง, คลำพบก้อนบริเวณไต ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกว่ามีอาการอักเสบของไต บางรายเพียงแต่เคาะเบาๆ บริเวณด้านหลังที่ปวด ก็จะรู้สึกเจ็บจนสะดุ้งได้เลยทีเดียว
  •  อาการปวดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
    • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางรายที่มีอาการปวดเมื่อยบริเวณเอว มีอาการเหงื่อออกมากจนเกินไป
    • วัยที่เข้าสู่วัยชรา หรือ วัยหมดประจำเดือน
    • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็นที่ยึดกระดูกหย่อนยาน อีกทั้งยังส่งผลต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกอีกด้วย

หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการปวดหลัง ควรรีบพบแพทย์

  • มีอาการปวดหลังมากกว่า 4 สัปดาห์
  • ปวดหลังร้าวลงสะโพกและขา
  • ปวดหลังจนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
  • อาการปวด ที่มีร่วมกับอาการขาอ่อนแรง
  • การขับถ่ายมีปัญหา ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
  • มีอาการ “ชา” ต่างๆ ร่วมด้วย

การรักษาอาการปวดหลัง

จุดประสงค์ของการรักษาอาการปวดหลัง คือการช่วยลดอาการปวดให้กับผู้ป่วย เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติมากที่สุด การรักษาอาการทั้งปวดหลัง, ปวดไหล่, ปวดคอ สามารถทำได้ทั้งการฝังเข็ม, ครอบแก้ว, กระตุ้นไฟฟ้า, การรมยา, การนวดกดจุด, การนวดจีนทุยหนาการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและระยะเวลาที่เป็น ซึ่งหมอจะเป็นผู้พิจารณาการรักษา ซึ่งต้องให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

” ขอขอบคุณ รูปภาพบางส่วนจาก – DailyHeral, Independent.co.uk “

ไป๋เฉ่า คลินิก

สนใจสามารถติดต่อนัดตรวจสุขภาพได้ทุกสาขาค่ะ

สาขาพระโขนง     088-566-6623
สาขานวลจันทร์    099-323-6269
สาขาราชพฤกษ์    093-969-2391
สาขาประชาชื่น     084-285-4663
สาขาเชียงใหม่ (รวมโชค)  091-566-1623

HotLine   : 062-264-6563
Line: @paichao

www.paichaoclinic.com
Facebk: Paichao.Clinic
IG: PaichaoClinic