เวลา 13.00 – 15.00 เป็นช่วงเวลาของ “ลำไส้เล็ก”
เวลาของลำไส้เล็ก
ไป๋เฉ่า สหคลินิก อันดับหนึ่งเรื่องการฝังเข็ม ขอแนะนำช่วงเวลาของลำไส้เล็ก เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนกันค่ะ โดยเวลาของลำไส้เล็กคือเวลา 13.00-15.00 น. ในช่วงนี้พลังจะถูกรวมไปอยู่ที่ลำไส้เล็ก เพื่อช่วยกระตุ้นลำไส้ให้มีการดูดซับ วิตามิน แร่ธาตุ สารอาหารเข้าสู่ร่างกาย โดยจะเปลี่ยนแปลงเป็นสารหรือฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งในทางแพทย์แผนจีนเรียกว่า สารจำเป็น เข้าสู่เซลล์เพื่อให้เซลล์ได้ทำหน้าที่ต่อไป
โดยปกติแล้ว อาหารจะถูกกระเพาะอาหารย่อยให้มีขนาดเล็กจนเป็นกากอาหารเพื่อให้ลำไส้เล็กดูดซึมได้ง่าย กากอาหารพวกนี้จะอยู่ในระบบย่อยอาหารประมาณ 16-28 ชั่วโมง
ความยาวของลำไส้เล็กจะอยู่ประมาณที่ 30 ฟุต โดยผู้หญิงจะมีลำไส้ที่ยาวมากกว่าผู้ชายค่ะ
หน้าที่ของลำไส้เล็ก ตามศาสตร์แผนจีน
แพทย์แผนจีนได้ให้หน้าที่ของลำไส้เล็กไว้ว่า เป็นอวัยวะกลวงที่เต็มไปด้วยกากอาหารเพื่อรอการดูดซึมสารจำเป็นเข้าสู่ร่างกาย โดยสารจำเป็นเหล่านี้จะถูกส่งให้ไปอยู่ในรูปแบบของ สารคัดหลั่งต่างๆ, ไขสันหลัง, น้ำเลี้ยงสมอง, น้ำเลี้ยงผิวหนัง, ไขข้อ เป็นต้น ซึ่งปริมาณสารจำเป็น ( รวมถึงน้ำด้วย ) ที่อยู่ในลำไส้เล็ก มีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำในร่างกาย รวมถึงปริมาณของปัสสาวะ ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย
ข้อควรปฏิบัติ
ในช่วงเวลา 13.00-15.00 น. ควรงดรับประทานอาหารทุกประเภท เพราะจะทำให้พลังที่เลี้ยงลำไส้เล็กถูกย้ายไปที่กระเพาะอาหารแทน จะทำให้การทำงานของลำไส้เล็กดูดซึมไม่ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุล
ผลกระทบ หากลำไส้เล็กทำงานได้ไม่เต็มที่
หากลำไส้เล็กดูดซึมสารจำเป็นน้อยลง
- ในวัยเด็ก : จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการของร่างกาย
- ในผู้ใหญ่ : ยิ่งคนที่ชอบทานอาหารเที่ยงเลยเวลาจนเป็นช่วงบ่ายๆแทน นอกจากสารจำเป็นจะถูกดูดซึมน้อยแล้ว ยังทำให้ดูแก่ก่อนวัยอีกด้วยค่ะ
- ในสาวๆวัยเจริญพันธุ์ : สาวๆคนไหนที่อยากมีลูก ลำไส้เล็กนี่แหละมีส่วนสำคัญเลยค่ะ เพราะเค้าจะเป็นผู้ช่วยคุณได้ดีที่สุด ในการดูดซึมกรดอะมิโน ซึ่งกรดอะมิโนนี้มีความจำเป็นอย่างมากในการสร้างไข่ให้สมบูรณ์เพื่อรองรับการมีบุตร รวมถึงการมีประจำเดือนด้วย ตรงนี้เองค่ะ คือสาเหตุว่าทำไมลำไส้เล็กของคุณผู้หญิงถึงได้ยาวกว่าของคุณผู้ชาย ก็เพื่อให้มีพื้นที่ดูดซับกรดอะมิโน เพราะคุณผู้หญิงมีความจำเป็นต้องใช้มากกว่าคุณผู้ชายยังไงล่ะค่ะ
อาการ เมื่อลำไส้เล็กเสียสมดุล
ลองมาดูกลุ่มอาการที่บ่งบอกว่าลำไส้เล็กของคุณอาจเสียสมดุลไปแล้ว
- คอแห้ง, ปากแห้ง, อุจจาระแข็ง หรือถ่ายไม่ออก
- ลำไส้แปรปรวน
- ปัสสาวะไม่ออก, ปัสสาวะแสบขัด, มีเลือดออกปนกับปัสสาวะ
- ปวดท้อง, แน่นท้อง, อาเจียร, ถ่ายอุจจาระเหลว
อาการต่างๆ เหล่านี้เป็นแค่อาการเบื้องต้นบางส่วนของลำไส้เล็กที่เกิดเสียภาวะสมดุล
ยิ่งถ้าเราปล่อยให้เกิดอาการเหล่านี้บ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน อาการเหล่านี้อาจจะพัฒนาเป็นโรคได้
การดูแลลำไส้เล็ก
เราควรดูแลลำไส้เล็กกันบ้างนะคะ อาจจะเริ่มจากการทานผักผลไม้ตามธาตุ โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวในกลุ่มที่มีจุลินทรีย์ที่ช่วยระบบย่อยและการดูดซึม พวกนี้จะช่วยทำความสะอาดลำไส้อีกทั้งยังขจัดคราบไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังลำไส้ได้อีกด้วย นอกจากนี้ในทางการแพทย์แผนจีน ก็สามารถฝังเข็มตามเส้นลมปราณลำไส้เล็ก ทานยาจีน เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้มีการปรับสมดุล ช่วยขับของเสีย เพิ่มพลังให้กับการดูดซึม ได้ดียิ่งขึ้น ได้เช่นเดียวกันค่ะ
นาฬิกาชีวิต: ลำไส้เล็ก
เวลา 13.00 – 15.00 เป็นช่วงเวลาของ “ลำไส้เล็ก” เวลาของลำไส้เล็ก ไป๋เฉ่า สหคลินิก...
นาฬิกาชีวิต: หัวใจ
เวลา 11.00 – 13.00 เป็นช่วงเวลาของ “หัวใจ” เวลาของหัวใจ เคยสังเกตุไหมคะ !!! ว่าอะไรที่มันสำคัญมากๆ...
นาฬิกาชีวิต: ม้าม
เวลา 09.00 – 11.00 เป็นช่วงเวลาของ “ม้าม” ม้าม ในทางแพทย์จีน เป็นอวัยวะที่สำคัญอันดับ 2 ในร่างกายของเราเลยนะคะ...
นาฬิกาชีวิต: กระเพาะอาหาร
เวลา 07.00 – 09.00 เป็นช่วงเวลาของ “กระเพาะอาหาร” หลังจากที่เราได้ขับถ่ายออกไปในช่วงเช้าแล้วนั้น...
นาฬิกาชีวิต: ลำไส้ใหญ่
เวลา 05.00 – 07.00 เป็นช่วงเวลาของ “ลำไส้ใหญ่” หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ ในทางการแพทย์แผนจีน ช่วงนี้เป็นเวลาเหมาะแก่การ...
นาฬิกาชีวิต: ปอด
เวลา 03.00 – 05.00 เป็นช่วงเวลาของ “ปอด” หน้าที่ของปอด ในทางการแพทย์แผนจีน ปอด มีหน้าที่สนองลมปราณและควบคุมการหายใจ...
นาฬิกาชีวิต: ตับ
เวลา 01.00 – 03.00 เป็นช่วงเวลาของ “ตับ” หน้าที่ของตับ ในทางการแพทย์แผนจีน ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้น “ตับ”...
นาฬิกาชีวิต
ตารางนาฬิกาชีวิต (Body-Clock) ไป๋เฉ่า สหคลินิก ได้คัดมาจากศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก...
สนใจสามารถติดต่อนัดตรวจสุขภาพได้ทุกสาขาค่ะ
สาขาพระโขนง 088-566-6623
สาขานวลจันทร์ 099-323-6269
สาขาราชพฤกษ์ 093-969-2391
สาขาประชาชื่น 084-285-4663
สาขาเชียงใหม่ (รวมโชค) 091-566-1623
HotLine : 062-264-6563
Line: @paichao
www.paichaoclinic.com
Facebk: Paichao.Clinic
IG: PaichaoClinic